สัตว์

งูเขียวปากจิ้งจก

ชื่อ
งูเขียวปากจิ้งจก
ชื่อสามัญ
Oriental whipsnake
ชื่อท้องถิ่น
งูเขียวหัวจิ้งจก (ประเทศไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘼𝙝𝙖𝙚𝙩𝙪𝙡𝙡𝙖 𝙥𝙧𝙖𝙨𝙞𝙣𝙖

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Animalia
หมวด
Chordata
ชั้น
Reptilia
อันดับ
Squamata
วงศ์
Serpentes
สกุล
Colubridae
ชนิด
Ahaetulla

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะเด่น
ลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวหลิม ปลายปากแหลม ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร พื้นลำตัวโดยมากเป็นสีเขียว มักจะมีเส้นสีขาวข้างลำตัวบริเวณแนวต่อระหว่างเกล็ดตัวกับเกล็ดท้อง เส้นขาวยาวตั้งแต่บริเวณคอ จนถึงโคนหาง ท้องขาว ส่วนหางตั้งแต่โคนหางถึงปลายหางจะมีสีน้ำตาลหรือสีชมพู ตามีขนาดใหญ่ ม่านตาอยู่ในแนวนอน
พฤติกรรม
อาศัยอยู่ตามต้นไม้ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ระยะเวลาการตั้งท้อง 4 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 6-10 ตัว การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ในป่าทุกประเภท
อาหาร
พิษอ่อนมาก โดยพิษจะสามารถทำอันตรายได้เฉพาะสัตว์เล็กที่เป็นอาหาร เช่น จิ้งจก, กิ้งก่า, นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นต้น ขณะที่ลูกงูจะกินแมลงเป็นอาหาร
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%81