พรรณไม้ศูนย์

กระท้อน

ชื่อ
กระท้อน
ชื่อสามัญ
Santol
ชื่อท้องถิ่น
บะตื๋น หมะต้อง
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙎𝙖𝙣𝙙𝙤𝙧𝙞𝙘𝙪𝙢 𝙠𝙤𝙚𝙩𝙟𝙖𝙥𝙚 (Burm.f.) Merr.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Streptophyta
ชั้น
Equisetopsida
อันดับ
Sapindales
วงศ์
Verbenaceae
สกุล
Sandoricum
ชนิด
Sandoricum koetjape

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ยืนต้น ประเภทผลัดใบ สูง 15-30 เมตร เปลือกหนาและหยาบ สีเทาหรือสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นแผ่นหรือเป็นรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น
ใบ
ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวเรียงสลับรูปไข่ปลายใบแหลมโคนใบมนหรือเบี้ยวขอบใบเรียบใบย่อย 3 ใบ กว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-20 ซม. เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ดอก
ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้มี 10 อัน ติดกันเป็นหลอด ออกเป็นช่อ ออกดอกช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสด เมล็ดเดียวแข็ง ค่อนข้างกลม ขนาด 5-8 ซม. หรือมีขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เซนติเมตร ผิวเป็นกำมะหยี่สีเหลืองอมส้ม ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เนื้อแข็งด้านนอก และด้านในเนื้อนุ่มเป็นปุยสีขาวที่หุ้มเมล็ดไว้ เปลือกหนา มียางสีขาวเล็กน้อย ผลสุกสีเหลืองนวล ผิวเริ่มย่น ออกผลช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
การกระจายพันธุ์
เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในป่าฝนเขตร้อนและพื้นที่ชื้น มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนและชื้น
การใช้ประโยชน์
ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวาน มักใช้ในการประกอบอาหาร
อ้างอิง
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=3119 https://www.royalparkrajapruek.org/Plants/view?id=1259
http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=3119