ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ยืนต้น ประเภทผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร เปลือกหนาและหยาบ สีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นแผ่นหรือเป็นรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 2.5 - 3 เซนติเมตร ยาว 6 - 8.5 เซนติเมตร
ดอก
ดอกสีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือน กันยายน-ธันวาคม
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้งแก่แล้วไม่แตก ผลปีกคู่ ขนาดประมาณ 1.4 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลม มีขนประปราย มีปีกยาว 2 ปีก ออกผลช่วงเดือน ตุลาคม - มกราคม
การกระจายพันธุ์
เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในป่าฝนเขตร้อนและพื้นที่ชื้น มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนและชื้น
การใช้ประโยชน์
เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ประโยชน์ในด้านการก่อสร้างและงานหัตถกรรม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญทางศาสนาในบางพื้นที่ โดยมีการปลูกไว้ในวัดหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์
อ้างอิง
https://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/umnad.htm http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2336
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=905