พรรณไม้ศูนย์

ไทรย้อย

ชื่อ
ไทรย้อย
ชื่อสามัญ
Ficus tree
ชื่อท้องถิ่น
ไทรย้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 𝙗𝙚𝙣𝙟𝙖𝙢𝙞𝙣𝙖 𝙇.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Streptophyta
ชั้น
Equisetopsida
อันดับ
Rosales
วงศ์
Moraceae
สกุล
Ficus
ชนิด
Ficus benjamina

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ยืนต้นหรือกึ่งอาศัย ประเภทผลัดใบ สูง 5-15 เมตร เปลือกบางและเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นแผ่นหรือเป็นรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 2-11 ซม. แผ่นใบหนาสีเขียวเรียบเป็นมัน
ดอก
ดอกสีขาวอมเหลือง ออกตามซอกใบ มีขนาดเล็กอยู่ภายในฐานรองดอกรูปทรงกลมคล้ายผล ขนาด 0.5-1.8 ซม.ผิวเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่จานข้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกของไทรคือผลที่ยังไม่สุก ออกดอกช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
ผล
ผลกลุ่มชนิดพิเศษ ผลรูปทรงกลมหรือรี ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ตามซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียวผลสุกสีเหลืองอมส้ม และเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือม่วง ออกผลช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
การกระจายพันธุ์
เป็นพันธุ์ไม้ต่างถิ่น มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย, ศรีลังกา
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงาและความสวยงาม
อ้างอิง
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=2433 http://www.st.buu.ac.th/botany/doc/2565/023%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1.pdf
http://qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=2433