ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ยืนต้น ประเภทผลัดใบ สูง 10-25 เมตร เปลือกบางและมีรอยแตก สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีเทาเข้มเมื่อมันแก่ขึ้น แตกเป็นแผ่นหรือเป็นรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบมน โคนใบมนหรือเบี้ี้ยว ขอบใบเรียบ ใบ กว้าง 5 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 20 เซนติเมตร สีเขียวนวลเป็นมัน ใบอ่อนสีแดงอมชมพู มีขนละเอียดรูปดาว
ดอก
ดอกย่อยสีม่วงอมชมพู ออกที่ปลายกิ่งเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสันนูนตามยาว และมีขนสั้นประปราย ปลายแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอก 6 กลีบ ทรงกลม ออกสลับกับกลีบเลี้ยง โคนคอดเรียวเป็นก้านสั้นๆ กลีบดอกบางยับย่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกดอกช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
ผล
ผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วแตกกลางพู รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.2 – 2 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงแข็ง มีกลีบเลี้ยงติดตรงจุกผล เมื่อสุกสีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลอมเหลือง แบน มีปีก จำนวนมาก ออกผลช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
การกระจายพันธุ์
เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในป่าดิบชื้นและป่าเขตร้อนของประเทศไทย
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงาและความสวยงาม
อ้างอิง
https://rptree.royalparkrajapruek.org/assets/PDF/lagerstroemia_loudonii_teijsm_binn.pdf http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=3425 https://www.dnp.go.th/botany/detaildict.html?wordsLinkno=2324&words=%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87&typeword=word
https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:553540-1