ก่อหัวหมู
ชื่อ
ก่อหัวหมู
ชื่อสามัญ
Ko Hua Moo
ชื่อท้องถิ่น
ก่อเลือด ก่อแดง (เชียงใหม่), ก่อแงะ (เชียงราย)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙇𝙞𝙩𝙝𝙤𝙘𝙖𝙧𝙥𝙪𝙨 𝙨𝙤𝙤𝙩𝙚𝙥𝙚𝙣𝙨𝙞𝙨 (Craib) A.Camus
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 5-20 เมตร
ใบ
ใบรูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 4-11 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือสอบเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1-2 ซม.
ดอก
ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ยาว 10-20 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก ติดกระจายเป็นกระจุก รังไข่รูปป้อมมีเกล็ดคลุม มี 3 ช่อง ออกดอกช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม
ผล
ผลรูปกรวยคว่ำ มีกาบหุ้มผลรูปกรวยหงายหรือรูปถ้วย ขนาด 2-3 เซนติเมตร หุ้มถึงครึ่งหนึ่งของความยาวตัวผล ออกผลช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน
การกระจายพันธุ์
พบตามภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าก่อผสมสนที่ความสูง 800-1,200 ม. จากระดับน้ำทะเล
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน ทำด้ามจับเครื่องมือการเกษตร กิ่งก้านทำฝืน ทำถ่าน
อ้างอิง
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1211&view=showone&Itemid=59
https://www.gbif.org/species/5335111
https://ntbg.org/database/plants/detail/gardenia-sootepensis