คำมอกหลวง
ชื่อ
คำมอกหลวง
ชื่อสามัญ
Golden Gardenia
ชื่อท้องถิ่น
คำมอกช้าง (ภาคเหนือ), ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา), ไข่เน่า (อุดรธานี), สะแล่งหอมไก๋ หอมไก๋ (ลำปาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙂𝙖𝙧𝙙𝙚𝙣𝙞𝙖 𝙨𝙤𝙤𝙩𝙚𝙥𝙚𝙣𝙨𝙞𝙨 Hutch.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7 – 15 ม. มีน้ำยางเหลือง กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ผลัดใบช่วงสั้นๆ เวลาออกดอก
ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 12 – 18 ซม. ยาว 22 – 30 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบเป็นปลอกที่บริเวณรอบกิ่ง หลุดร่วงง่ายเห็นรอยแผลชัดเจน
ดอก
ดอกเดี่ยวสีเหลืองสด เปลี่ยนเป็นสีซีดหรือขาวนวลเมื่อร่วง ออกที่ซอกใบ มีกลิ่นหอม ขนาดผ่านศูนย์กลาง 5.5 – 7 ซม.
ผล
ผลเป็นผลสด รูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.8 – 2.5 ซม. ยาว 2.2 – 4 ซม.
การกระจายพันธุ์
พบในประเทศพม่า ลาว จีนตอนใต้ ประเทศไทยพบในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้สร้างที่อยู่อาศัย นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
อ้างอิง
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/new-fragrant/gardenia-s.html
https://www.gbif.org/species/5335111
https://ntbg.org/database/plants/detail/gardenia-sootepensis