สะแล่งหอมไก๋
ชื่อ
สะแล่งหอมไก๋
ชื่อสามัญ
Sa Laeng Hom Kai
ชื่อท้องถิ่น
หอมไก๋ สะแหล่งหอมไก๋ (ภาคเหนือ), พุดสุเทพ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙍𝙤𝙩𝙝𝙢𝙖𝙣𝙣𝙞𝙖 𝙨𝙤𝙤𝙩𝙚𝙥𝙚𝙣𝙨𝙞𝙨 (Craib) Bremek.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูงถึง 10 ม.
ใบ
ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตรงข้อมักมี 3 ใบ รูปรีถึงขอบขนาน กว้าง 3.5 – 5 ซม. ยาว 10 – 12 ซม. ปลายใบแหลม
ดอก
ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ 1 – 3 ดอก ดอกย่อยบานเต็มที่ กว้างถึง 6 ซม. กลีบรองดอกสีเขียว เป็นหลอด ยาว 1.5 ซม. ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก มีโคนเชื่อมกัน เป็นหลอดยาว ปลายแยก 5 กลีบ โคนกลีบด้านใน มีประ สีม่วงแดง และมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
ผล
ผลเดี่ยว สีเขียว รูปกลมรี ผิวมัน ขนาด 2.5 – 3.3 ซม. ปลายผลมีกลีบรองดอกติดอยู่ และเมล็ดกลมแบนจำนวนมาก
การกระจายพันธุ์
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ เชียงใหม่ ตามป่าผลัดใบและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงถึง 1,000 ม. ออกดอกและติดผล ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากให้ดอกสวยงามและกลิ่นหอมเย็น
อ้างอิง
http://www.qsbg.org/database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1524
http://www.rspg.or.th/plants_data/rare_plants/scien_name_r10.html
https://www.gbif.org/species/2906259