พืช

รัง

ชื่อ
รัง
ชื่อสามัญ
Dark red meranti, Light red meranti, Red lauan
ชื่อท้องถิ่น
เปา, เปาดอกแดง (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙎𝙝𝙤𝙧𝙚𝙖 𝙨𝙞𝙖𝙢𝙚𝙣𝙨𝙞𝙨 Miq. var. Siamensis

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Malvales
วงศ์
Dipterocarpaceae
สกุล
𝙎𝙝𝙤𝙧𝙚𝙖 𝙍𝙤𝙭𝙗. ex C.F.Gaerth
ชนิด
𝙎𝙝𝙤𝙧𝙚𝙖 𝙨𝙞𝙖𝙢𝙚𝙣𝙨𝙞𝙨

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กว้าง ถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนใบหยักเว้า ปลายใบแหลมกว้าง หรือมน ขอบใบเรียบ กว้าง 5 - 20 เซนติเมตร ยาว 6.5 - 25 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบอ่อนสีแดง
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง และบริเวณเหนือซอกใบ ดอกย่อยมีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอกมี 5 กลีบ สีครีม ถึงสีเหลือง เรียงเหลื่อมซ้อนกันเป็นรูปกังหัน ปลายกลีบม้วนออก เกสรเพศผู้ 15 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่รูปกรวย ผิวเกลี้ยง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก ลักษณะคล้ายรูปไข่ กลีบเลี้ยงติดอยู่ในระยะผล เจริญขยายใหญ่ ลักษณะคล้ายปีก 5 ปีก ปีกใหญ่ 3 ปีก ปีกเล็ก 2 ปีก ผิวเกลี้ยง เมล็ด เมล็ดรูปไข่ ผิวเกลี้ยง จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าแดงและป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม ออกผลช่วงมกราคม-เมษายน
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้แข็ง นิยมนำมาทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และรับน้ำหนักมาก เช่น ทำพื้น รอด ตง คาน ทำส่วนประกอบของยานพาหนะและด้ามเครื่องมีการเกษตรต่างๆ
อ้างอิง
R. POOMA, M. POOPATH & M.F. NEWMAN., 2016. Dipterocapaceae. In Flora of Thailand. T. Smitinand and H. Balslev (Eds.), vol. 13 part 4: 659. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=32&view=showone&Itemid=132