ยอป่า
ชื่อ
ยอป่า
ชื่อสามัญ
Beach mulberry, Cheese fruit, Indian mulberry
ชื่อท้องถิ่น
เคาะขมิ้น,มะตาเสือ,สะกึย,สะเกย,หัสเกย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙈𝙤𝙧𝙞𝙣𝙙𝙖 𝙘𝙞𝙩𝙧𝙞𝙛𝙤𝙡𝙞𝙖 𝙇.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูงประมาณ 15 เมตร กิ่งมักคดงอ เปลือกแตกเป็นร่องลึก มีขนปกคลุม
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม หรือสอบเรียว ปลายใบแหลม ถึงมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น กว้าง 5 - 13 เซนติเมตร ยาว 10 - 25 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ออกตามซอกใบ บริเวณใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยออกบนฐานอยู่รวมเป็นก้อนกลม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปจาน มีขนประปราย กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 - 6 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้ 5 - 6 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่รูปไข่
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ แบบผลรวม ช่อผลลักษณะค่อนข้างกลม หรือเบี้ยว ผลย่อยจำนวนมากเชื่อมติดกัน เมล็ดแข็ง รูปไข่ หรือรูปรี แบน สีน้ำตาลเข้ม
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเมษายน-พฤษภาคม ออกผลช่วงกรกฎาคม-กันยายน
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นสมุนไพร,รากแก้เบาหวาน แก่น ต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด ใบใช้อังไฟปิดหน้าอก แก้ไอจุกเสียด หรือตำพอกหัวฆ่าเหา ผลแก้อาเจียน ผลสุกขับลม ใช้รากย้อมผ้า ให้สีแดง
อ้างอิง
Tao Chen & Charlotte M. Taylor. 2011. Rubiaceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol.19: 223. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=32&view=showone&Itemid=132