ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง20 เมตร
ใบ
ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 9 - 13 ใบ ออกเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปรี โคนใบกลม มน หรือไม่สมมาตร ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ หรือหยักมน กว้าง 1.7 - 10.5 เซนติเมตร ยาว 4 - 26 เซนติเมตร ผิวเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 4 - 5 แฉก กลีบดอก 4 - 5 กลีบ สีขาว เรียงเหลื่อมซ้อนกัน เกสรเพศผู้ 8 - 10 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ 4 - 5 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม เนื้อผลสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง รูปรี ปลายแหลม จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่ความสูง 50-500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ออกผลช่วงตุลาคม-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนใช้รับประทานสดเป็นผักเคียง หรือใช้ประกอบอาหาร ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใส่ในส้มตำ นํ้าพริก และยำ มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน
อ้างอิง
K. Chayamarit. 2008. Anacardiaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk and K. Larsen (Eds.), vol. 10 part 3: 325. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1790