มะกอกเกลื้อน
ชื่อ
มะกอกเกลื้อน
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
เกิ้ม, มะเกิ้ม (ภาคเหนือ) มะกอกเลื่อม (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘾𝙖𝙣𝙖𝙧𝙞𝙪𝙢 𝙨𝙪𝙗𝙪𝙡𝙖𝙩𝙪𝙢 Guillaumin
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 10 - 15 เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นหอมแรง มีน้ำยางสีขาว
ใบ
ใบประกอบ แบบขนนก ใบย่อย 2 - 5 คู่ แผ่นใบรูปไข่กว้าง หรือรูปหอก โคนใบกลม รูปลิ่ม หรือไม่สมมาตร ปลายใบเรียวแหลม หรือมีติ่งแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย หรือหยักตื้น กว้าง 3.5 - 11 เซนติเมตร ยาว 9 - 18 เซนติเมตร
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย หรือรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ เรียงเหลื่อมซ้อนกัน เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูเกสรเชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศเมียรังไข่มีขนปกคลุมบริเวณด้านบน
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะค่อนข้างกลม รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปราย เมล็ด เมล็ดรูปกระสวย แบน สีน้ำตาลแดง จำนวน 1 - 3 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบและทุ่งหญ้า ออกดอกช่วงมีนาคม-เมษายน ออกผลช่วงมิถุนายน-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
ยาง ทาแก้คันและเป็นเครื่องหอม ผล รับประทานได้ แก้ไอ ขับเสมหะ
อ้างอิง
Hua Peng & Mats Thulin. 2008. Burseraceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol.11: 109. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=32&view=showone&Itemid=132