พืช

มะดะหลวง

ชื่อ
มะดะหลวง
ชื่อสามัญ
Egg tree
ชื่อท้องถิ่น
มะดะ (ภาคเหนือ) มะดะหลวง (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙂𝙖𝙧𝙘𝙞𝙣𝙞𝙖 𝙭𝙖𝙣𝙩𝙝𝙤𝙘𝙝𝙮𝙢𝙪𝙨 Hook.f. ex. T. Anderson

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Malpighiales
วงศ์
Clusiaceae
สกุล
𝙂𝙖𝙧𝙘𝙞𝙣𝙞𝙖 L.
ชนิด
𝙂𝙖𝙧𝙘𝙞𝙣𝙞𝙖 𝙭𝙖𝙣𝙩𝙝𝙤𝙘𝙝𝙮𝙢𝙪𝙨

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 16 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้น
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม หรือตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนใบรูปลิ่มกว้าง ปลายใบแหลม ถึงมน ขอบใบเรียบ กว้าง 6 - 12 เซนติเมตร ยาว 20 - 34 เซนติเมตร เนื้อใบหนา
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อเชิงหลั่น ออกตามกิ่งที่ใบหลุดร่วง ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวอ่อน หรือสีเขียวอมขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูเกสรเชื่อมติดกันเป็นชุด 4 ชุด ในดอกเพศเมีย เกสรเพศผู้มักเป็นหมัน เกสรเพศเมีย รังไข่ 5 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะค่อนข้างกลม หรือเบี้ยว ผิวเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา กลีบเลี้ยง และปลายยอดเกสรเพศเมียติดอยู่ในระยะผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่ มีเยื่อหุ้มสีส้ม จำนวน 3 - 5 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบ ที่ความสูง 600 -1000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงมีนาคม-เมษายน ออกผลช่วงสิงหาคม-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,เนื้อไม้ใช้ทำกระดานและพื้นบ้าน
อ้างอิง
Xi-wen Li, Jie Li & Peter Stevens., 2007. Clusiaceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol.13: 42. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=3080&view=showone&Itemid=132