พืช

ลำพูป่า

ชื่อ
ลำพูป่า
ชื่อสามัญ
Achung, Duabanga, Lampati
ชื่อท้องถิ่น
กาลา, ตุ้มบก, ตุ้มลาง, เต๋น, อ้า (ภคเหนือ) คอเหนียง (เชียงใหม่) สะบันงาช้ง (แพร่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘿𝙪𝙖𝙗𝙖𝙣𝙜𝙖 𝙜𝙧𝙖𝙣𝙙𝙞𝙛𝙡𝙤𝙧𝙖 Roxb. ex Dc.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Myrtales
วงศ์
Lythraceae
สกุล
𝘿𝙪𝙖𝙗𝙖𝙣𝙜𝙖 Buch.-Ham.
ชนิด
𝘿𝙪𝙖𝙗𝙖𝙣𝙜𝙖 𝙜𝙧𝙖𝙣𝙙𝙞𝙛𝙡𝙤𝙧𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปแกมขอบขนาน โคนใบกลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 4 - 10 เซนติเมตร ยาว 10 - 24 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีนวล
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อเชิงหลั่น ออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นแรง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 6 - 7 แฉก ติดทน กลีบดอก 6 - 7 กลีบ เกสรเพศผู้ประมาณ 50 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ 4 - 8 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วแตก ลักษณะคล้ายรูปไข่ ถึงกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล กลีบเลี้ยงติดอยู่ในระยะผล เมล็ดรูปแถบ จำนวนมาก มีหางรูปเส้นด้าย
การกระจายพันธุ์
พบในชายป่า ที่โล่ง ตามหุบเขา ริมลำธาร ที่ชุ่มชื้น ที่ความสูง1200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงมกราคม-มีนาคม ออกผลช่วงเมษายน-พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์
-
อ้างอิง
T. Santisuk. 1992. Sonneratiaceae. In: Flora of Thailand. T. Smitinand & K. Larsen (Eds.), vol. 5 part 4: 435. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1183&view=showone&Itemid=132