พืช

ไทรย้อยใบทู่

ชื่อ
ไทรย้อยใบทู่
ชื่อสามัญ
Benjamin’s fig, Gloden fig, Weeping fig
ชื่อท้องถิ่น
ไทรย้อย, ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ, ตราด) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 𝙗𝙚𝙣𝙟𝙖𝙢𝙞𝙣𝙖 L.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Rosales
วงศ์
Moraceae
สกุล
𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 Tourn. ex L.
ชนิด
𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 𝙗𝙚𝙣𝙟𝙖𝙢𝙞𝙣𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร มีรากอากาศ
ใบ
ใบเดี่ยว ออกแบบเวียน หรือเรียงสลับ แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ โคนใบกลม ถึงมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 1.5 - 6 เซนติเมตร ยาว 2 - 14 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนาคล้ายหนัง
ดอก
ดอกช่อ แบบมะเดื่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยอยู่ภายในฐานดอกที่ขยายใหญ่ และอวบน้ำ ที่ปลายมีรูเปิด ช่อดอกไร้ก้าน รูปกลม รูปไข่กลับ หรือรูปรี ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ดอกย่อยแยกเพศ กลีบรวม สีแดง เกสรเพศผู้ 1 อัน รังไข่สีแดง ถึงสีขาว
ผล
ผลรวม ผลย่อยจำนวนมาก แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก มีขนาดเล็ก อัดแน่นอยู่ภายในช่อผล มักมีไข่ หรือตัวอ่อนของแมลงอาศัยอยู่ เมล็ดค่อนข้างกลม หรือรูปไข่
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงมกราคม-ธันวาคม ออกผลช่วงมกราคม-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ
อ้างอิง
C. C. Berg, N. Pattharahirantricin & Chantarasuwan. 2011. Moraceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & H. Balslev (Eds.), vol. 10 part 4: 605. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=972&view=showone&Itemid=59