พืช

ขี้หนอนคาย

ชื่อ
ขี้หนอนคาย
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
หัด, ฮัด (ภาคเหนือ) มะหาด (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘾𝙚𝙡𝙩𝙞𝙨 𝙩𝙚𝙩𝙧𝙖𝙣𝙙𝙧𝙖 Roxb.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Rosales
วงศ์
Cannabaceae
สกุล
𝘾𝙚𝙡𝙩𝙞𝙨 L.
ชนิด
𝘾𝙚𝙡𝙩𝙞𝙨 𝙩𝙚𝙩𝙧𝙖𝙣𝙙𝙧𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบไม่สมมาตร ปลายใบแหลม เรียวแหลม ถึงเรียวยาวคล้ายหาง ขอบใบเรียบ หรือจักฟันเลื่อย ถึงหยักมน บริเวณปลายใบ กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาว 5 - 10 เซนติเมตร เนื้อใบบาง ผิวด้านล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ช่อดอกมีขนปกคลุม ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกเพศผู้ กลีบรวมโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 4 - 5 แฉก สีเหลือง ถึงสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านนอกมีขนห่างๆ ผิวด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 5 - 6 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ในดอกเพศผู้ เกสรเพศเมียไม่เจริญ
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม ผลสุกสีดำ ผิวเกลี้ยง เมล็ดแข็ง ค่อนข้างกลม จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบ ที่ความสูง180-2500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์-มีนาคม ออกผลช่วงเมษายน-พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
อ้างอิง
L. Phuphathanaphong. 2015. Cannabaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & H. Balslev (Eds.), vol. 13 part 1: 81. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok