ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 8 - 15 เมตร
ใบ
ใบประกอบ แบบขนนก ใบย่อย 2 - 3 คู่ แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน ถึงรูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบมน ถึงเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 8 - 17 เซนติเมตร ยาว 10 - 24 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขน
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก มีขนปกคลุม กลีบดอกรูประฆัง สีเหลืองอมน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว ผิวด้านนอกมีขนปกคลุม เกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่มีขนรูปดาว
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วแตก ลักษณะเป็นฝักเรียวยาว โค้งงอและบิดเป็นเกลียว มีสันเป็นเส้นตามแนวยาว 5 สัน ผิวมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม เมล็ดแบน มีเยื่อบางๆ ตามขอบ ลักษณะคล้ายปีก
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ป่าหญ้า ชายป่าดิบ และป่าดิบเขา ออกดอกช่วงมกราคม-พฤศจิกายน ออกผลช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ, ดอกนำมาประกอบอาหารได้
อ้างอิง
T. Santisuk. 1987. Bignoniaceae. In: Flora of Thailand. T. Smitinand & K. Larsen (Eds.), vol. 5 part 1: 47. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=158&view=showone&Itemid=132