พืช

ประยงค์ป่า

ชื่อ
ประยงค์ป่า
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
ประยงค์ป่า (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘼𝙜𝙡𝙖𝙞𝙖 𝙤𝙙𝙤𝙧𝙖𝙩𝙞𝙨𝙨𝙞𝙢𝙖 Blume

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Spindales
วงศ์
Meliaceae
สกุล
𝘼𝙜𝙡𝙖𝙞𝙖 Lour
ชนิด
𝘼𝙜𝙡𝙖𝙞𝙖 𝙤𝙙𝙤𝙧𝙖𝙩𝙞𝙨𝙨𝙞𝙢𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 - 20 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีเกล็ดสีน้ำตาล และขนรูปดาวปกคลุม
ใบ
ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 5-7 ใบ ออกเรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม แผ่นใบรูปรี ถึงรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่ม หรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวด้านบนเกลี้ยง ผิวด้านล่างมีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก สีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 3 - 5 แฉก กลีบดอก 3 - 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 3 - 5 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่มี 1 - 3 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วแตก ลักษณะคล้ายรูปไข่กลับ ผลสุกสีเหลือง ถึงสีส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีชมพูอ่อน จำนวน 1 - 3 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าพรุ ที่ความสูง 100-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม ออกผลช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน
การใช้ประโยชน์
ใช้แป็นสมุนไพร, ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ, ทำที่อยู่อาศัย, ทำเป็นเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย
อ้างอิง
-