พืช

หม่อนหลวง

ชื่อ
หม่อนหลวง
ชื่อสามัญ
Mulberry
ชื่อท้องถิ่น
หม่อนฮอก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙈𝙤𝙧𝙪𝙨 𝙢𝙖𝙘𝙧𝙤𝙪𝙧𝙖 Miq.

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Rosales
วงศ์
Moraceae
สกุล
𝙈𝙤𝙧𝙪𝙨 L.
ชนิด
𝙈𝙤𝙧𝙪𝙨 𝙢𝙖𝙘𝙧𝙤𝙪𝙧𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 เมตร เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีขาว
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ ถึงกลม ปลายใบเรียวแหลม ถึงแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ถึงหยักซี่ฟัน กว้าง 4 - 11 เซนติเมตร ยาว 6 - 16 เซนติเมตร เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนปกคลุม
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อหางกระรอก ออกตามซอกใบ ช่อดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศผู้ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน ช่อดอกเพศเมีย ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รังไข่เกลี้ยง ปลายยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก
ผล
ผลรวม ผลย่อยจำนวนมาก แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก ลักษณะคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม กลีบเลี้ยงเจริญขยายใหญ่หุ้มส่วนผล อวบน้ำ สีเขียวอ่อน หรือสีขาวอมเหลือง เมล็ดค่อนข้างกลม จำนวน 1 เมล็ด ต่อ 1 ผลย่อย
การกระจายพันธุ์
พบที่โล่งแจ้ง ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์-เมษายน ออกผลช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน
การใช้ประโยชน์
ผลนำมารับประทานได้
อ้างอิง
C. C. Berg, N. Pattharahirantricin & Chantarasuwan. 2011. Moraceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & H. Balslev (Eds.), vol. 10 part 4: 659. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.