ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 15 - 30 เมตร
ใบ
ใบประกอบ เรียงแบบเวียน ใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ไม่สมมาตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย กว้าง 5 - 11 เซนติเมตร ยาว 10 - 20 เซนติเมตร
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน แยกเพศ ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ หลุดง่าย ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดกับกลีบเลี้ยง ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่ 3 - 4 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบสดผลมีเนื้อ ลักษณะค่อนข้างกลม ผลแก่สีเหลือง หรือสีน้ำตาล เมล็ดรูปขอบขนาน จำนวน 3 - 4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบ ที่ความสูง100-1000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์-มีนาคม ออกผลช่วงมิถุนายน-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ทำไม้พื้น ทำฝา เครื่องเรือน ทำแจว พาย กรรเชียง กั้นบ่อน้ำและร่องน้ำ ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้เจ็บคอ เสียงแหบ แก้บิด เปลือกต้น ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัดป้องกันอาการท้องเสีย
อ้างอิง
Bingtao Li & Hans-Joachim (Hajo) Esser. 2008. Euphorbiaceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol. 11: 217. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1209&view=showone&Itemid=59