ก่อแป้น
ชื่อ
ก่อแป้น
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
กว้าวกวาง, ก่อหนาม (ภาคเหนือ) มะก่อ(เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘾𝙖𝙨𝙩𝙖𝙣𝙤𝙥𝙨𝙞𝙨 𝙙𝙞𝙫𝙚𝙧𝙨𝙞𝙛𝙤𝙡𝙞𝙖 (Kurz) King ex Hook.f.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 10 - 30 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม มีช่องอากาศทั่วไป
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปรี หรือรูปขอบขนาน โคนใบมน หรือไม่สมมาตร ปลายใบเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 5 - 10 เซนติเมตร ยาว 11 - 22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนตามเส้นกลางใบ ผิวใบด้านล่างมีขนประปราย
ดอก
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ทุกส่วนมีขนปกคลุม ช่อดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศผู้ แบบช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวนวล หรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 12 อัน ช่อดอกเพศเมีย แบบช่อเชิงลด เกสรเพศเมียมีรังไข่ 3 ช่อง ยอดเกสร 3 แฉก
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก ลักษณะค่อนข้างกลม กาบหุ้มผลเป็นหนามที่เหยียดตรง หรือโค้งเล็กน้อย ไม่แยกแขนง มีขนปกคลุม เมล็ดกลม แบนด้านข้างเล็กน้อย ปลายแหลม จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 1,000 – 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์-เมษายน ออกผลช่วงสิงหาคม-พฤศจิกายน
การใช้ประโยชน์
เมล็ดคั่วสุกรับประทานได้
อ้างอิง
C. Phengklai. 2008. Fagaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & K. Larsen (Eds.), vol. 9 part 3: 201. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=3088&view=showone&Itemid=59