สนสามใบ
ชื่อ
สนสามใบ
ชื่อสามัญ
Benguet pine, Khasi pine, Khasia pine, Luzon pine, Three-needled pine
ชื่อท้องถิ่น
เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ) เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙋𝙞𝙣𝙪𝙨 𝙆𝙚𝙞𝙨𝙝𝙖
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 15 - 35 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอมชมพู
ใบ
ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ มีกาบใบหุ้มกลุ่มใบ เรียงตัวแบบเวียน หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง แผ่นใบรูปเข็ม ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านล่างมีจุดสีขาวเรียงเป็นเส้นขนานกันไปตามความยาวของใบ
ดอก
ดอก โคนรูปไข่ หรือรูปข้าวหลามตัด ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ บริเวณปลายกิ่ง โคนแยกเพศ โคนเพศผู้สีเขียว ถึงสีน้ำตาล โคนเพศเมียสีเหลืองนวล มีเกล็ดขนาดเล็ก เรียงเวียน แต่ละเกล็ดมีกาบรองรับ แต่ละกาบมีไข่ 2 อัน
ผล
เมล็ด เมล็ดรูปรี แบนเล็กน้อย สีน้ำตาลดำ มีปีก
การกระจายพันธุ์
พบในป่าสนเขา ที่ความสูง 1,000 - 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงมกราคม-มีนาคม ออกผลช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
ใช้ทำที่อยู่อาศัย,เครื่องดนตรี,เฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมกระดาษ ทำสบู่
อ้างอิง
C. Phengklai. 1987. Pinaceae. In: Flora of Thailand. T. Smitinand & K. Larsen (Eds.), vol. 2 part 2: 194. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.