พืช

มะมือ

ชื่อ
มะมือ
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
มะกอกห้ารู มะกัก (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙨𝙥𝙤𝙣𝙙𝙞𝙖𝙨 𝙥𝙞𝙣𝙣𝙖𝙩𝙖

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Anacardiaceae
วงศ์
Spondias
สกุล
𝙨𝙥𝙤𝙣𝙙𝙞𝙖𝙨
ชนิด
𝙨𝙥𝙤𝙣𝙙𝙞𝙖𝙨 𝙥𝙞𝙣𝙣𝙖𝙩𝙖

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
สูง 5 - 25 เมตร เปลือกต้นสีเทา ค่อนข้างเรียบ ผล drupe รูปร่าง ovoid ขนาด 3 X 3 - 5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวออกเหลือง บริเวณเปลือกของผลมีจุดสีน้ำตาลเทากระจายอยู่ทั่วไป เมล็ด 1 เมล็ด มีขนาดใหญ่และแข็ง ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ
ใบ
เป็นใบประกอบแบบ odd - pinnate เรียงตัวแบบ alternate มีใบย่อย 4 - 6 คู่ ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม แผ่นใบย่อยรูปร่าง lanceolate - elliptic ขนาด 1.5 - 4.5 X 4 - 10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบ acuminate ฐานใบ obtuse - cuneate ผิวใบทั้งสองด้านเรียบ rachis ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 4 มิลลิเมตร
ดอก
ดอกออกเป็นช่อ panicle ที่ปลายยอดและซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 20 - 40 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกย่อยยาว 1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 4 - 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาว 0.5 มิลลิเมตร กลีบดอก สีขาว 4 - 5 กลีบ รูปร่าง oblong - ovate ปลายกลีบแบบ acute ยาว 2 - 3 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน filament ยาว 1 มิลลิเมตร เกษรเพศเมีย มีรังไข่ 1 อัน แบบ superior ovary ภายในมี 5 carpel แบ่งเป็น 5 locule แต่ละ locule มี ovule 1 อัน
ผล
ผล drupe รูปร่าง ovoid ขนาด 3 X 3 - 5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวออกเหลือง บริเวณเปลือกของผลมีจุดสีน้ำตาลเทากระจายอยู่ทั่วไป 1 เมล็ด มีขนาดใหญ่และแข็ง ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ
การกระจายพันธุ์
ออกดอกช่วงมกราคม-มีนาคม
การใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนทานได้ใช้ทานคู่ลาบหรือน้ำพริก ผลรับประทานเป็นผลไม้ได้
อ้างอิง
การสำรวจพรรณพืชท้องถิ่น : พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ปัจจัยทางนิเวศวิทยาและการจัดทำฐานข้อมูลพืชพรรณ ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญชัย จังหวัดลำพูน รศ.ดร.ชูศรี ไตรสนธิหน่วยวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่