ก่อตาหมูหลวง
ชื่อ
ก่อตาหมูหลวง
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
ก่อตาหมูหลวง, ก่อหนามใบเล็ก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘾𝙖𝙨𝙩𝙖𝙣𝙤𝙥𝙨𝙞𝙨 𝙖𝙧𝙜𝙮𝙧𝙤𝙥𝙝𝙮𝙡𝙡𝙖 King ex Hook.f.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 9 - 20 เมตร เปลือกต้นสีดำ กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปขอบขนาน โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม มน หรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 4 - 7.5 เซนติเมตร ยาว 12 - 17 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ผิวด้านบนเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา
ดอก
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ช่อดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศผู้ แบบช่อแยกแขนง มีขนปกคลุม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 12 อัน ช่อดอกเพศเมีย แบบช่อเชิงลด เกสรเพศเมียมีรังไข่ 3 ช่อง ยอดเกสร 3 แฉก
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก ลักษณะค่อนข้างกลม หรือรูปไข่ กาบหุ้มผลเป็นหนามเหยียดตรง โค้งงอเล็กน้อย บางส่วนแยกแขนง มีขนปกคลุม เมล็ดรูปไข่ หรือทรงกระบอก ปลายไม่สมมาตร จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 800 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงธันวาคม-กุมภาพันธ์ ออกผลช่วงกันยายน-ตุลาคม
การใช้ประโยชน์
ผลคั่วสุกรับประทานได้
อ้างอิง
C. Phengklai. 2008. Fagaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & K. Larsen (Eds.), vol. 9 part 3: 189. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:opinjbnQ70oJ:www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%2520full%2520option/search_detail.asp%3Fbotanic_id%3D1693+&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th