พืช

นางพญาเสือโคร่ง

ชื่อ
นางพญาเสือโคร่ง
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
นางพญาเสือโคร่ง (ภาคเหนือ) ชมพูภูพิงค์(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙋𝙧𝙪𝙣𝙪𝙨 𝙘𝙚𝙧𝙖𝙨𝙤𝙞𝙙𝙚𝙨 Buch.-Ham. ex D.Don

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Rosales
วงศ์
Rosaceae
สกุล
𝙋𝙧𝙪𝙣𝙪𝙨 L.
ชนิด
𝙋𝙧𝙪𝙣𝙪𝙨 𝙘𝙚𝙧𝙖𝙨𝙤𝙞𝙙𝙚𝙨

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูงประมาณ 10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นมัน
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบกลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่สองชั้น จักฟันนเลื่อยสองชั้น หรือจักฟันเลื่อย กว้าง 3.2 - 5 เซนติเมตร ยาว 8 - 12 เซนติเมตร เยื้อใบบาง ผิวใบเรียบ เกลี้ยง
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุก หรือช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก สีแดงเข้ม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว หรือสีชมพู เกสรเพศผู้ 32 - 34 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่เกลี้ยง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม ผลสุกสีแดงคล้ำ ถึงสีม่วงดำ ผิวเรียบ เกลี้ยง เป็นมันเงา เมล็ดแข็ง ค่อนข้างกลม จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในภูเขา ที่ความสูง 1000 - 2000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงธันวาคม ออกผลช่วงมีนาคม-พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นไม้ปลูกประดับ ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว
อ้างอิง
Cuizhi Gu, Chaoluan Li, Lingdi Lu, Shunyuan Jiang, Crinan Alexander, Bruce Bartholomew, Anthony R. Brach, David E. Boufford, Hiroshi Ikeda, Hideaki Ohba, Kenneth R. Robertson & Steven A. Spongberg. 2003. Rosaceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol.9: 418. Science Press, Beijing, a2003. Rosaceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol.9: 418. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=302&view=showone&Itemid=132