ตองแตบ
ชื่อ
ตองแตบ
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
เต้าแม้ว, ปอขี้แฮด (เชียงใหม่) ปอหมัน (แพร่)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙈𝙖𝙘𝙖𝙧𝙖𝙣𝙜𝙖 𝙙𝙚𝙣𝙩𝙞𝙘𝙪𝙡𝙖𝙩𝙖 (Blume) Müll.Arg.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 3 - 15 เมตร ยอดอ่อนมีขนปกคลุม
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบรูปสามเหลี่ยม โคนใบรูปตัดกว้าง ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 8 - 18 เซนติเมตร ยาว 10 - 24 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ใบแก่เกลี้ยง
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง หรือช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ประมาณ 15 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่กลม มี 4 - 6 ช่อง
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วแตก ลักษณะค่อนข้างกลม เป็นพู 2 พู ผิวเรียบ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู ผลแห้งสีดำ เมล็ดรูปขอบขนาน จำนวน 2 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงมีนาคม-สิงหาคม ออกผลช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นสมุนไพร
อ้างอิง
K. Chayamarit & P. C. Van Welzen. 2005. Euphorbiaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & K. Larsen (Eds.), vol. 8 part 2: 364. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=all&Itemid=59