มะคำดีควาย
ชื่อ
มะคำดีควาย
ชื่อสามัญ
Soap nut tree
ชื่อท้องถิ่น
ประคำดีควาย, มะซัก, ส้มป่อยเทศ, หมาหซัก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙎𝙖𝙥𝙞𝙣𝙙𝙪𝙨 𝙧𝙖𝙧𝙖𝙠 DC.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 เมตร
ใบ
ใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 8 - 13 คู่ แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ โคนใบไม่สมมาตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 2 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 16 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ผิวเรียบ เกลี้ยง
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4 - 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้ 8 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ 3 ช่อง ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปราย
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง หรือสีน้ำตาล เมล็ดกลม สีดำ จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบชื้น ที่ความสูง 200 - 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงมีนาคม-เมษายน ออกผลช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้แข็งแต่ไม่ทนทานนัก ผลและเมล็ด ใช้ในการซักล้างแทนสบู่
อ้างอิง
P.C. Van Welzen. 1999. Sapindaceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk and K. Larsen (Eds.), vol. 7 part 1: 239. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1937&view=showone&Itemid=132