พืช

อบเชย

ชื่อ
อบเชย
ชื่อสามัญ
Wlid cinnamon
ชื่อท้องถิ่น
หมาปราบตัวผู้ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝘾𝙞𝙣𝙣𝙖𝙢𝙤𝙢𝙪𝙢 𝙞𝙣𝙚𝙧𝙨 Reinw. ex Blume

อนุกรมวิธาน

อาณาจักร
Plantae
หมวด
Magnoliophyta
ชั้น
Magnoliopsida
อันดับ
Laurales
วงศ์
Lauraceae
สกุล
𝘾𝙞𝙣𝙣𝙖𝙢𝙤𝙢𝙪𝙢 Schaeff.
ชนิด
𝘾𝙞𝙣𝙣𝙖𝙢𝙤𝙢𝙪𝙢 𝙞𝙣𝙚𝙧𝙨

ลักษณะทางพฤกษศาตร์

ลำต้น
ไม้ต้น สูง 10 - 20 เมตร
ใบ
ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมหอก กว้าง 5 - 10 เซนติเมตร ยาว 10 - 20 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายแหลม หรือมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายหนัง
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง แกนช่อดอกมีขนปกคลุม ดอกย่อยสีเขียวอ่อน กลีบรวมโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก มีขนปกคลุมหนาแน่น เกสรเพศผู้ 9 อัน ก้านชูเกสรมีขนปกคลุม เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่รูปไข่
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปไข่ ไข่กลับ รูปรี ปลายมน หรือแหลม กลีบรวมรูปถ้วยติดอยู่ในระยะผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ จนถึงสีดำ ผิวเรียบเกลี้ยง เป็นมันเงา เมล็ดแข็ง จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ออกดอกช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ออกผลช่วงเมษายน-พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นสมุนไพร,เปลือกต้นเป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ใบต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม แก้ท้องอืด
อ้างอิง
Xi-wen Li, Jie Li & Henk van der Werff. 2008. Lauraceae. In: Flora of China. Z. Y. Wu, P. H. Raven and D. Y. Hong (Eds.), vol. 7: 183. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. Beijing.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=726&view=showone&Itemid=132