พีพ่าย
ชื่อ
พีพ่าย
ชื่อสามัญ
-
ชื่อท้องถิ่น
มะมุ่น, มุ่น, ยาขบงู (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙀𝙡𝙖𝙚𝙤𝙘𝙖𝙧𝙥𝙪𝙨 𝙡𝙖𝙣𝙘𝙚𝙞𝙛𝙤𝙡𝙞𝙪𝙨 Roxb.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 เมตร
ใบ
ใบเดี่ยว ออกแบบเวียน หรือเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอก ถึงรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม แหลม หรือกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย กว้าง 3.5 - 8 เซนติเมตร ยาว 8 - 18 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขน
ดอก
ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแยกเป็นฝอย มีขนประปราย เกสรเพศผู้ 25 - 30 อัน เกสรเพศเมีย รังไข่ 3 ช่อง มีขนปกคลุม
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปรี ปลายมน หรือค่อนข้างแหลม ผิวเรียบ เกลี้ยง เมล็ดแข็ง จำนวน 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบ ออกดอกช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม ออกผลช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นสมุนไพร,ลำต้นใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง
อ้างอิง
Phengklai, C. 1981. Ebenaceae. In: Flora of Thailand. T. Smitinand and K. Larsen (Eds.), vol. 2 part 4: 422. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=787&view=showone&Itemid=132