ทะโล้
ชื่อ
ทะโล้
ชื่อสามัญ
Chinese guger tree, Needle wood
ชื่อท้องถิ่น
ทะโล้, คาย, สารภีป่า (ภาคเหนือ) มังตาน (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์
𝙎𝙘𝙝𝙞𝙢𝙖 𝙬𝙖𝙡𝙡𝙞𝙘𝙝𝙞𝙞 (DC.) Korth.
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ลำต้น
ไม้ต้น สูง 15 - 45 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึก
ใบ
ใบเดี่ยว ออกแบบเวียน แผ่นใบรูปหอก รูปขอบขนาน ถึงรูปรีกว้าง โคนใบสอบเรียว รูปลิ่ม หรือกลม ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ หยักมน หรือจักฟันเลื่อย กว้าง 2 - 5.5 เซนติเมตร ยาว 4.5 - 13 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างเส้นกลางใบมีขนประปราย
ดอก
ดอกเดี่ยว หรือออกเป็นกระจุก 1 - 3 ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมีย รังไข่กลม มีขนปกคลุม
ผล
ผลเดี่ยว แบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วแตก ลักษณะค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็ง ผิวมีขนสีน้ำตาลเข้มคล้ายเส้นไหม เมล็ดรูปรี หรือรูปไต จำนวน 4 - 10 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงกันยายน-ธันวาคม ออกผลช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม
การใช้ประโยชน์
เป็นสมุนไพร,ทำที่อยู่อาศัย,ไม้ดอกไม้ประดับ,เนื้อไม้ใช้ทำกระดานและพื้นบ้าน
อ้างอิง
Smitinand, T.1972. Theaceae. In: Flora of Thailand. T. Smitinand and K. Larsen (Eds.), vol. 2 part 2: 144. Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. Bangkok.
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=94&view=showone&Itemid=132