เส้นทางศึกษาธรรมชาติต้นไทรใหญ่

เส้นทางศึกษาธรรมชาติต้นไทรใหญ่ ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร (ไป-กลับ) ความสูง 1,050-1,130 เมตร จากระดับน้ำทะเล เส้นทางนี้จะพาผู้เดินชมผ่านผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมตลอดทาง โดยมีต้นไทรใหญ่ที่มีอายุนับร้อยปีเป็นจุดเด่นสำคัญของเส้นทาง ตลอดการเดินทางจะได้สัมผัสความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ป่าท้องถิ่นในระบบนิเวศธรรมชาติ

Point 1 𝘿𝙞𝙥𝙩𝙚𝙧𝙤𝙘𝙖𝙧𝙥𝙪𝙨 𝙘𝙤𝙨𝙩𝙖𝙩𝙪𝙨
จุดที่ 1 ยางปาย

ยางปาย (𝘿𝙞𝙥𝙩𝙚𝙧𝙤𝙘𝙖𝙧𝙥𝙪𝙨 𝙘𝙤𝙨𝙩𝙖𝙩𝙪𝙨 C. F. Gaertn.) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ลำต้นตรง เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทาถึงน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแผ่ค่อนข้างกลม ให้ร่มเงา และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น นกและกระรอก

Point 2 𝙈𝙪𝙨𝙖 𝙖𝙘𝙪𝙢𝙞𝙣𝙖𝙩𝙖
จุดที่ 2 กล้วยป่า

กล้วยป่า (𝙈𝙪𝙨𝙖 𝙖𝙘𝙪𝙢𝙞𝙣𝙖𝙩𝙖 Colla) เป็นพืชพื้นเมืองที่พบทั่วไปในป่าเขตร้อน มีลำต้นสูงและผลขนาดเล็ก นิยมนำมาใช้ในด้านอาหารและสมุนไพร โดยเฉพาะรากและใบที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการท้องเสียหรือปวดท้อง นอกจากนี้ กล้วยป่ายังนำมาใช้ประโยชน์ในงานหัตถกรรม เช่น ทำเชือกหรือวัสดุก่อสร้างจากเส้นใยธรรมชาติ ใบและผลกล้วยยังเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด

Point 3 Anthill
จุดที่ 3 จอมปลวก

จอมปลวก คือ กองดินหรือโครงสร้างที่ปลวกสร้างขึ้นจากดิน น้ำลาย และมูลของพวกมันเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย มักพบในป่าและทุ่งหญ้า ดินจากจอมปลวกอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินโดยรอบ และมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ ภายในจอมปลวกบางแห่งมีอุณหภูมิคงที่ตลอดปี

Point 4 𝘽𝙖𝙡𝙖𝙠𝙖𝙩𝙖 𝙗𝙖𝙘𝙘𝙖𝙩𝙖
จุดที่ 4 สลีนก

สลีนก หรือสลีดง (𝘽𝙖𝙡𝙖𝙠𝙖𝙩𝙖 𝙗𝙖𝙘𝙘𝙖𝙩𝙖 (Roxb.) Esser) เป็นไม้ยืนต้น สูง 20 เมตร พบได้ในป่าที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ผลเป็นผลสดเดี่ยว ลักษณะกลม เมื่อสุกจะมีสีม่วงดำ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่าหลายชนิด

Point 5 𝙈𝙞𝙘𝙧𝙤𝙥𝙤𝙧𝙪𝙨 𝙭𝙖𝙣𝙩𝙝𝙤𝙥𝙪𝙨
จุดที่ 5 เห็ดกรวยทองตะกู

เห็ดกรวยทองตะกู (𝙈𝙞𝙘𝙧𝙤𝙥𝙤𝙧𝙪𝙨 𝙭𝙖𝙣𝙩𝙝𝙤𝙥𝙪𝙨 (Fr.) Ktz.) เป็นเห็ดที่ไม่สามารถรับประทานได้ ดอกเห็ดเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะคล้ายกรวยปากกว้าง ผิวมันวาว มีริ้วบาง ๆ เรียงเป็นรัศมีและย่นเล็กน้อย มักพบขึ้นตามกิ่งไม้แห้งที่ร่วงหล่นบนพื้นป่า

Point 6 𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 𝙖𝙡𝙩𝙞𝙨𝙨𝙞𝙢𝙖
จุดที่ 6 ต้นไทรใหญ่, ไทรกร่าง

ต้นไทรใหญ่ หรือไทรกร่าง (𝙁𝙞𝙘𝙪𝙨 𝙖𝙡𝙩𝙞𝙨𝙨𝙞𝙢𝙖 Blume) ได้รับฉายาว่า "นักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าแห่งพงไพร" เพราะแม้จะให้ร่มเงาและผลไม้แก่สัตว์ป่านานาชนิด แต่ก็มีลักษณะการเจริญเติบโตที่เกาะต้นไม้อื่น แล้วค่อย ๆ โอบรัดจนต้นไม้เจ้าบ้านตายลง ผลของไทรมีลักษระเป็นผลสด สีเขียวเมื่อยังดิบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก รับประทานได้รสชาติหวาน เป็นแหล่งอาหารสำคัญของนก ลิง และสัตว์ป่าอื่น ๆ

Point 7 𝙎𝙩𝙚𝙥𝙝𝙖𝙣𝙞𝙖 𝙫𝙚𝙣𝙤𝙨𝙖
จุดที่ 7 กลิ้งกลางดง, กระท่อมเลือด, สบู่เลือด

กลิ้งกลางดง 𝙎𝙩𝙚𝙥𝙝𝙖𝙣𝙞𝙖 𝙫𝙚𝙣𝙤𝙨𝙖 (Blume.) Spreng. หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “กระท่อมเลือด” หรือ “สบู่เลือด” เป็นไม้เลื้อยที่พบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มีลำต้นและเถาเลื้อยไปตามพื้นหรือพันไม้พุ่มอื่น มีลักษณะเด่นคือ “ผลพิเศษ” หรือส่วนสะสมอาหารที่อยู่ตามซอกใบ ลักษณะกลม ผิวขรุขระ สีน้ำตาล พืชชนิดนี้นิยมใช้ในสมุนไพรพื้นบ้าน โดยนำ้ผลพิเศษมาต้มน้ำดื่ม ใช้ลดไข้ในเด็กและบรรเทาอาการหอบหืด

Point 8 Flat-backed millipedes
จุดที่ 8 กิ้งกือหลังแบน, ตะเข็บแดง

กิ้งกือหลังแบน หรือ ตะเข็บแดง ได้รับฉายาว่า "ผู้เก็บกวาดผืนป่า" พบได้ในป่าดิบชื้นของประเทศไทยและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ตามพื้นดินหรือ่บริเวณที่มีความชื้นสูง กินซากพืชเป็นอาหาร กิ้งกือชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการย่อยสลาย ช่วยปรับสมดุลระบบนิเวศ และยังเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอีกด้วย

Point 9 𝙋𝙝𝙧𝙮𝙣𝙞𝙪𝙢 𝙥𝙪𝙗𝙞𝙣𝙚𝙧𝙫𝙚
จุดที่ 9 ตองสาด

ตองสาด (𝙋𝙝𝙧𝙮𝙣𝙞𝙪𝙢 𝙥𝙪𝙗𝙞𝙣𝙚𝙧𝙫𝙚 Blume) เป็นพืชล้มลุก มักขึ้นตามบริเวณริมน้ำ มีใบขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมัน คนภาคเหนือในอดีตใช้ใบตองสาดเป็นภาชนะห่อข้าว

Point 10 𝙏𝙞𝙣𝙤𝙨𝙥𝙤𝙧𝙖 𝙘𝙧𝙞𝙨𝙥𝙖
จุดที่ 10 บอระเพ็ด

บอระเพ็ด (𝙏𝙞𝙣𝙤𝙨𝙥𝙤𝙧𝙖 𝙘𝙧𝙞𝙨𝙥𝙖 (L.) Miers ex Hook.fil. & Thomson) เป็นไม้เถาเลื้อยที่พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำต้นมีลักษณะเป็นปุ่มปม ผิวขรุขระ และมีรสขมจัด บอระเพ็ดเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่นิยมมาใช้บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้อาการร้อนใน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด